วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อดีและข้อเสียของระบบริง

ข้อดีของระบบริง
1.ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปให้ผู้รับได้หลายๆเครื่องพร้อมๆกัน โดยกันกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนตัวของแพ็กเก็จข้อมูล Repeater  ของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้นเป็นตนเองหรือไม่
2.การส่งผ่านข้อมูลในเครื่องข่ายแบบริงจะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง  จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูลที่ส่งออกไป
3.คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสียของระบบริง
1.ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในระบบเสียหาย  ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อๆไปได้และจะทำให้เครื่อข่ายทั้งเครือข่ายหยุดชะงักได้
2.ขณะที่ข้อมูลส่งผ่านแต่ละเครื่อง  เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุกๆ Repeater  จะทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้นๆทุกข้อมูลที่ส่งผ่านถึง


ที่มา http://narachaisdt.blogspot.com/2009/06/topology-bus-ring-star-mest.html
ข้อดีและข้อเสียของระบบริง

ข้อดีของระบบริง
1.ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย
2.คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสียของระบบริง
1.หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหนและวงแหวนจะขาดออก


ที่มา http://learners.in.th/blog/auto-eti2101/315701
โครงสร้างระบบแบบริง
               การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งจนครบวงจร  ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน  โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงปลายทาง  ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าสายขาดส่วนใดก็จะทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้  ระบบริงมีการใช้งานบนเครื่องตระกูลIBM กันมาเป็นเครือข่าย Token  Ring  ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเครื่องเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ


ที่มา http:// www.bcoms.net/network/intro.asp
สรุป เรื่อง Network   System : Ring

      เครือข่ายวงแหวน (Ring  Topology)
                เครือข่ายแบบวงแหวน  เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด  โดยจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน


ที่มา http://www.student.chula.ac.th/~48438598/3_ring_topology.htm

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network)

เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลสายเดียว ในลักษณะวงแหวน ซึ่งมักจะใช้ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์วางอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
หลักการรับส่งข้อมูล
    การวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันจะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ซึ่งจะมีขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จะกว่าจะถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุไว้จากเครื่องต้นทาง
การขยายเพิ่มเติมระบบ
  การขยายเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์เข้ามาในระบบนี้ค่อนข้างยุ่งยากกว่าเครือข่ายแบบอื่น เพราะทุกครั้งที่เพิ่มคอมพิวเตอร์เข้ามา ก็จะต้องตัดต่อสายเคเบิลเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งจะต้องปิดเครือข่ายก่อนจนกว่าจะเชื่อมต่อเสร็จ
การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
   เมื่อสายเคเบิลช่วงใดขาด เครือข่ายก็ไม่สามารถรับส่งข้อมูลได้จนกว่าจะซ่อมแซมสายช่วงนั้นให้เรียบร้อยก่อน แต่จุดที่มีปัญหาในโครงสร้างเครือข่ายแบบนี้หาได้ไม่ยากนัก ซึ่งเครือข่ายแบบวงแหวนนี้มักจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่งข้อมูลในทิศทางต่าง ๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรอง และป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
ค่าใช้จ่าย
  ในการสร้างเครือข่ายแบบวงแหวนมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในวงแหวนทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียว ซึ่งจะต้องใช้สายยาวมากขึ้น ถ้าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องวางอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รู้จักกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

           "ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) ที่คุณผู้อ่านจะได้พบต่อไปนี้ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชื่อมต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ